พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (พ.ศ. 2562)
พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (พ.ศ. 2562)

พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (พ.ศ. 2562)

(กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนหลังจาก 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562)พายุไต้ฝุ่นบัวลอย เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดเป็นอันดับสองรองจากพายุไต้ฝุ่นฮากีบิส และพายุไต้ฝุ่นหะลอง และเป็นพายุลูกที่สองบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2562 พายุไต้ฝุ่นบัวลอยเป็นพายุดีเปรสชันลูกที่ 39, พายุโซนร้อนลูกที่ 21 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 11 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ก่อตัวขึ้นจากความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562 อยู่ทางตะวันออกของสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ ความปั่นป่วนได้ก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยด้วยอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อบอุ่นมาก และแรงลมต่ำ ทำให้ระบบมีความรุนแรงขึ้น เมื่อถึงวันที่ 19 ตุลาคม พายุโซนร้อนบัวลอยได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และต่อมาเป็นพายุไต้ฝุ่นในเวลาต่อมา อัตราการเสริมกำลังอ่อนตัวลงจนถึงวันที่ 21 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นบัวลอยถึงสถานะความรุนแรงสูงสุดในวันที่ 22 ตุลาคม ด้วยความเร็วลม 10 นาทีที่ 205 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ความเร็วลมสูงสุด 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) เทียบเท่ากับความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน และระบบเริ่มอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วในวันรุ่งขึ้น[1]หลังจากพายุไต้ฝุ่นฮากีบิสผ่านพ้นไป ประเทศญี่ปุ่นเตรียมรับมือพายุ 2 ลูก อีกครั้ง เช่น พายุไต้ฝุ่นนอกูรี และพายุไต้ฝุ่นบัวลอย เป็นต้น[2] มีความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง แผ่นดินถล่ม และน้ำท่วม ในพื้นที่ราบต่ำ หรือพื้นที่ริมแม่น้ำทางชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เนื่องจากพายุไต้ฝุ่นนอกูรีกำลังเคลื่อนที่ไปยังภูมิภาคดังกล่าว ในขณะเดียวกัน พายุไต้ฝุ่นบัวลอยกำลังเคลื่อนตัวมุ่งหน้าไปยังชายฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นเดียวกัน[3]ภายใต้อิทธิพลของความกดอากาศต่ำทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดฝนตกหนักในภาคตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น[4] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดชิบะ และจังหวัดฟูกูชิมะ มีปริมาณน้ำฝนรวมเกิน 200 มิลลิเมตร (8 นิ้ว) ซึ่งเป็นปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักเป็นประวัติการณ์ในเวลาไม่ถึงครึ่งวัน เกินปริมาณน้ำฝนเป็นเวลาหนึ่งเดือนในเดือนตุลาคมของปี[5][6] ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 11 ราย ในจังหวัดชิบะ[7] และ 2 ราย ในจังหวัดฟูกูชิมะ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (พ.ศ. 2562) http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/summary/... https://www.asahi.com/articles/ASMBV2VPLMBVUDCB006... https://www.bangkokbiznews.com/world/852224 https://www.bastillepost.com/hongkong/article/5303... https://hilight.kapook.com/view/195198 https://www.tnnthailand.com/news/world/19968/ https://www.severe-weather.eu/tropical-weather/bua... https://blogs.nasa.gov/hurricanes/tag/bualoi-2019/ https://typhoon.yahoo.co.jp/weather/calendar/400/ https://www.jma.go.jp/bosai/map.html#4/15.072/144....